ไม่หวั่นแม้วันหมดแรงหมดใจ เพราะนี่คือเทคนิคต่อสู้กับภาวะ Burnout Syndrome ที่ได้ผลที่สุด


ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan

ใจความสำคัญ

“การดูแลรักษาตัวเองให้หลุดพ้นจากภาวะ Burnout ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราทุกคนสามารถทำได้”

-อาการ Burnout จากการทำงาน มักจะเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมกัน ซึ่งมักจะประกอบด้วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน ปัจจัยจากลักษณะการใช้ชีวิต และปัจจัยจากบุคลิกภาพส่วนบุคคล

-การแก้ไขปัญหาที่ทำได้ง่าน และรวดเร็วคือการแก้ปัญหาจากปัจจัยที่เกียวข้องกับตัวเราเอง การพยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาจากปัจจัยที่เกียวข้องกับงานและองค์กรเป็นสิ่งที่ใช้เวลานาน และไม่สามารถแก้สำเร็จได้ด้วยตนเอง

-งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าความสุขในการทำงานมาจากการที่ผู้ร่วมงานมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงจากบุคคลที่มองโลกในแง่ร้าย ขี้อิจฉาริษยา ชอบนินทาว่าร้าย ไม่ให้เกียรติ ฯลฯ เพราะพวกเขาจะเปลี่ยนคุณให้กลายเป็นคนที่แบกความทุกข์

การดูแลรักษาตัวเองให้หลุดพ้นจากภาวะ Burnout ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราทุกคนสามารถทำได้ และถึงแม้เราจะสามารถทำได้สำเร็จแล้ว เราก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีกหากเราละเลยการสังเกตและดูแลตัวเอง และยังคงยึดติดอยู่กับความเครียดความกังวล มีมุมมองด้านลบกับสิ่งรอบตัว และกลับไปใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ

เราควรทำตัวอย่างไรเมื่เกิดอาการ Burnout ?

  1. ควรสำรวจและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นให้กับตัวเอง

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ Burnout อย่างเข้าใจ และให้ความใส่ใจในการสังเกตและประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอใน 3 ลักษณะหลักอันได้แก่ สุขภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต หากตัวคุณเองพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคุณ เช่น อาการนอนไม่หลับมาเป็นเวลานาน มีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานบ่อยขึ้น ฯลฯ คุณควรเริ่มเปิดใจสำรวจและค้นหา ‘สาเหตุ’ ของความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณควรขอให้เพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้างที่คุณมีสัมพันธภาพที่ดี บอกสิ่งผิดปกติในตัวคุณ เพื่อใช้ในการค้นหาที่มาของปัญหาในเบื้องต้น หากพบว่าอาการมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นและไม่สามารถจัดการกับภาวะนี้ได้ด้วยตนเอง คุณควรรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

  1. ให้กำลังใจและความรักกับตัวคุณเองในยามเจ็บป่วย

หากคุณพบว่าตัวเองกำลัง Burnout คุณไม่ควรที่จะโกรธหรือกล่าวโทษว่าตัวเองอ่อนแอ คุณควรให้ความเห็นอกเห็นใจกับตนเอง เปิดใจทำความเข้าใจ ยอมรับ และเริ่มต้นดูแลรักษาตัวเองในทันที ความรักและกำลังใจของคุณเองเป็นเสมือน ‘ยาวิเศษ’ ในการช่วยบรรเทาอาการและรักษาอาการเจ็บป่วย

  1. เข้าใจความต้องการของตนเอง ลงมือแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว

เมื่อคุณพบ ‘สาเหตุ’ ของความผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งอาจมาจากหลายปัจจัยทั้งที่มาจากสิ่งแวดล้อมและตัวคุณเอง แต่การแก้ไขปัญหาจากปัจจัยต้นเหตุที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณเอง สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว และสร้างผลลัพธ์คือความสุขที่ยั่งยืนต่อตัวคุณ

แต่เมื่อคุณแก้ปัญหาที่มาจากตัวคุณเองแล้ว แต่คุณยังคงต้องติดอยู่ในสภาวะกดดันซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่นที่คุณควบคุมไม่ได้ เช่น รูปแบบของงาน นโยบายองค์กร คุณลักษณะของหัวหน้างาน ฯลฯ คุณควรเริ่มมองและตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ฉันสามารถอยู่รอดในสภาวะความเครียดในที่ทำงานนี้ได้ดีเพียงไร” และ “อะไรคือเป้าหมายในชีวิตของฉัน” ซึ่งถ้าคำตอบบอกว่า “ฉันไม่สามารถอยู่รอดได้ และงานที่ทำอยู่ไม่ได้นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ” คุณไม่ควรลังเลที่จะเปลี่ยนงาน

อย่าพยายามเอาชนะภาวะ Burnout ด้วยการทรมานตนเอง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจที่รุนแรงมากขึ้น

  1. หยุดพักจากความเครียด และดูแลรักษาตัวเอง

การที่คุณอยู่ในภาวะความเครียดสะสมจากการทำงานเป็นเวลานานคือสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้คุณอยู่ในภาวะ Burnout ดังนั้นคุณควรหยุดพักจากการทำงานในภาวะเครียดทันที

หากคุณไม่สามารถลาหยุดได้ คุณควรจัดระบบการทำงานใหม่ โดยให้คุณมีเวลาได้พักผ่อนมากขึ้น คุณควรบอกเล่าเรื่องความลำบากของคุณ และขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน

ภาวะ Burnout ส่งผลให้เกิดความเครียดและเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องฟื้นฟูปรับความสมดุลการทำงานของทั้ง  3 ส่วน ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นได้จากความแข็งแรงของร่างการ เพื่อสร้างให้อารมณ์สดใส และจิตใจที่เปิกบาน

หลายคนไม่กล้าที่จะหยุดพักและพยายามเอาชนะภาวะ Burnout ด้วยการทนอยู่กับความเครียดจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นคุณต้องให้เวลาตัวเองได้หยุดพักเพื่อจัดการกับความเครียด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของคุณให้กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลอีกครั้ง

  1. เลือกให้ตัวเองเป็นบุคคลที่มีความสุขในการทำงาน

ความสุขและความทุกข์ในชีวิตขึ้นอยู่กับตัวคุณ ความสุขในการทำงานสามารถสร้างได้ด้วยทัศนคติด้านบวกต่องานที่คุณทำ ต่อบุคคลรอบตัวในที่ทำงาน และต่อตัวคุณเอง เมื่อคุณมีทัศนคติที่เป็นบวกคุณจะตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ด้วยความรู้สึกและพฤติกรรมด้านบวก ซึ่งจะทำให้คุณปรับตัวอยู่กับสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

งานวิจัยหลายชิ้นได้สนับสนุนว่า ความสุขในการทำงานมาจากการที่บุคคลที่ทำงานร่วมกันมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน คุณควรพยายามอย่าให้ความสำคัณกับบุคคลที่มองโลกในแง่ร้าย ขี้อิจฉาริษยา ชอบนินทาว่าร้าย ไม่ให้เกียรติหรือไม่เห็นคุณค่าในตัวคุณ

เทคนิคในหารมีความสุขกับงานที่คุณทำคือวางแผนงานที่คุณต้องทำอย่างคร่าวๆ ในช่วงเช้าก่อนเริ่มงาน และบอกกับตัวเองว่าวันนี้ฉันกำลังจะเริ่มทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วยความสุข นำแผ่นข้อความให้กำลังใจ และทัศนคติด้านบวกในการทำงานมาติดไว้บริเวณโต๊ะทำงาน เพื่อช่วยให้เกิดการทำงานด้านบวก

ให้คำชมเชยกับตัวเองทุกวันหลังเลิกงาน หารางวัลพิเศษกับตนเอง เช่น ซื้อของขวัญให้ตัวเอง จัดเวลาไปเที่ยวพักผ่อนในช่วงสั้นๆ หลังงานสำเร็จ ฯลฯ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://thestandard.co/burnout-syndrome-2/

10 งานมาแรง